แผนการจัดการเรียนรู้ที่
1
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่องหน่วย
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต เวลาเรียน 8 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน
นาย ธนพงศ์ แซ่ลิ้ม โรงเรียน.................................................................................
วัน................ ที่...............
เดือน........................... พ.ศ. ..................
เวลาทีสอน...................................
หมายเหตุ...............................................................................................................................................

สาระที่
5 พลังงาน
1.
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน
ว 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูป พลังงาน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิต และสิ่งแวดล้อม
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด ว
5.1 ม.3/1 อธิบายงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง กฎการอนุรักษ์พลังงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล่านี้
รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
จากมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการและความสำคัญของพลังงานน้ำและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนเรียนจบหัวข้อนี้แล้ว
นักเรียนควรจะสามารถ
1.อภิปรายและอธิบายการไหลของน้ำและการกระทำของพลังงานน้ำในธรรมชาติ
2.ทดลอง
วิเคราะห์ อภิปรายและเขียนสรุปเกี่ยวกับพลังงานน้ำและผลที่เกิดจากพลังงานน้ำ
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
Plan
|
Desing
|
Management
|
Learning
|
Evaluation
|
Assessment
|
1. ออกแบบการสอน
ผู้เรียนเลือกสื่อการสอน ได้แก่ พาวเวอร์พ้อย วีดีโอ หนังสือเรียน
ใบความรู้
ที่ผู้เรียนคิดว่าเหมาะกับเรื่องที่เรียนและทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
2.
สื่อการสอนที่ดีที่สุด
วีดีโอ
ใบความรู้
3.
วิธีการสอน
ผู้เรียนเลือกวิธีการสอน ได้แก่
สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สอนแบบการทดลอง สอนแบบบรรยาย สอนแบบสาธิต การสอนแบบจิตปัญญาการเรียนรู้
4.
การสอนที่เหมาะสม
ผู้เรียนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีการสอนแบบจิตปัญญาการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
ขั้นที่
1
การรู้จักตนเอง ( 5 นาที )
1.
นักเรียนวิเคราะห์ตนเองว่าในชีวิตประจำวันน้ำมีส่วนสำคัญกับเราในด้านใดบ้าง ( แนวคำตอบ ใช้ในการอุปโภค บริโภค และสามารถใช้สร้างไฟฟ้า)
2.
นักเรียนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกรณีการใช้พลังงานน้ำที่เกี่ยวข้องกับกับตนเองในปัจจุบัน ( แนวคำตอบ
ใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนให้กับโรงงานไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมรมทั่วไป)
ขั้นที่
2
การเชื่อมโยงประสบการเดิมและใหม่ ( 10 นาที )
1.
นักเรียนนั่งสมาธิ 3 นาทีแล้วครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2. กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนโดยนำคลิปวีดีโอ
เรื่องพลังงานน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ขั้นที่
3
การสร้างองค์ความรู้ ( 30 นาที )
1.การตั้งประเด็น:การไหลของน้ำและการกระทำของพลังงานน้ำร่วมกันอภิปรายจากประสบการณ์เดิมของนักเรียนที่อาจเคยไปเที่ยวน้ำตก แม่น้ำ
2.ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล : นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากประเด็นที่ตั้งไว้จากใบความรู้ที่
1 เรื่อง พลังงานน้ำในชีวิตประจำวัน
3.ลงมือปฏิบัติ : นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน
จากนั้นให้นักเรียนตั้งชื่อกลุ่มของตนเอง
แล้วให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารับอุปกรณ์หน้าห้อง ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้อุปกรณ์
ดังนี้
รายการวัสดุอุปกรณ์
ที่
|
รายการ
|
จำนวนหรือปริมาณต่อกลุ่ม
|
หมายเหตุ
|
1
|
แผ่นใสชนิดเขียน
ขนาดกว้าง 12 เซนติเมตร และยาว 12 เซนติเมตร (ถ้าใช้แผ่นพลาสติกชนิดอื่น
ให้เลือกชนิดของพลาสติกที่มีความหนาใกล้เคียงกับความหนาของแผ่นในชนิดเขียน
เพื่อให้สามารถพับงอโดยไม่เสียรูปทรงได้)
|
1 แผ่น
|
|
2
|
กรรไกร
|
1 อัน
|
|
3
|
เทปกาว
|
1 ม้วน
|
|
4
|
เข็มหมุด
|
2 เล่ม
|
|
5
|
ไม้บรรทัด
|
1 อัน
|
|
6
|
คลิปหนีบกระดาษขนาดเล็ก
|
1 อัน
|
|
7
|
หลอดพลาสติก
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 23
เซนติเมตร
|
1 หลอด
|
|
8
|
หลอดพลาสติก
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 15
เซนติเมตร
|
1 หลอด
|
|
9
|
เส้นด้าย
ความยาว 60 เซนติเมตร
|
1 เส้น
|
|
10
|
แก้วน้ำ
|
1 ใบ
|
|
11
|
นาฬิกาจับเวลา
|
1 อัน
|
|
12
|
น้ำสะอาด
(ใช้ครั้งละ 5,000 cm3 จำนวน 6 ครั้ง)
|
30,000 cm3
|
|
13
|
ถังน้ำพลาสติก
|
1 ใบ
|
อาจใช้ถังน้ำจากชุดสาธิตพลังงานน้ำมาใช้แทนได้ หรืออาจจะใช้น้ำจากก๊อกน้ำแทนได้
|
14
|
ท่อพลาสติก
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อพลาสติก
อาจปรับเปลี่ยนได้ตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรูที่เจาะถังน้ำ)
|
1 อัน
|
|
15
|
กาวติดท่อ
PVC
|
1 หลอด
|
จากนั้นให้แต่ละกลุ่มอ่านวิธีการทำกิจกรรมที่
1
เรื่อง มหัศจรรย์กับพลังงานน้ำ ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้
1.
ประดิษฐ์กังหันและชุดการทำกิจกรรม ตามขั้นตอนดังนี้ 1.ตัดและพับแผ่นพลาสติกตามแบบ
และนำกระดาษกาวติดมุมพลาสติกทั้ง 4 มุม ให้ติดอยู่ด้วยกัน
2.เสียบเข็มหมุดที่บริเวณศูนย์กลางของกังหัน
และกลัดปลายเข็มหมุดไปที่บริเวณปลายของหลอดพลาสติกขนาดเล็กให้แน่น
3.กำหนดให้หลอดพลาสติกขนาดเล็กในข้อที่ 2)เป็นแกนกังหัน จากนั้นให้สอดแกนกังหันเข้าไปด้านในของหลอดพลาสติกอีกอันหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่า
4.เตรียมเส้นด้าย
ความยาว 60 เซนติเมตร
นำปลายด้านหนึ่งของเส้นด้ายไปผูกติดไว้กับคลิปหนีบกระดาษขนาดเล็ก จำนวน 1 อัน
และนำปลายอีกด้านหนึ่งของเส้นด้ายไปผูกติดไว้ที่ปลายแกนกังหัน
โดยผูกให้มีระยะห่างจากปลายแกนกังหัน ประมาณ 4-5 cm และติดเทปกาวตรงบริเวณที่ผูกเส้นด้ายกับแกนกังหันไว้ให้แน่น
5.เพื่อไม่ให้แกนกังหันหลุดออกจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่ในขณะที่ทดสอบการหมุน
ให้นำเข็มหมุดอีกอันหนึ่งเสียบไปที่แกนกังหัน ตามตำแหน่ง
เสียบเข็มหมุดไปที่แกนกังหัน
|
เตรียมแก้วน้ำ จำนวน 1 ใบ
จากนั้นคว่ำแก้วน้ำลงและติดชุดกังหันที่ประดิษฐ์เสร็จแล้วไปที่บริเวณฐานของแก้วน้ำด้วยกระดาษกาว
บรรจุน้ำ 5,000 cm3
ลงในถังน้ำ จากนั้นให้ยกถังน้ำขึ้น
ให้ระดับน้ำที่จะปล่อยอยู่สูงกว่าระดับแกนกังหัน 15 cm และปล่อยน้ำจากถังให้ไหลลงไปที่บริเวณปลายใบพัดของกังหันอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งน้ำในถังหมด
ให้สังเกตการหมุนของกังหันและจับเวลาตั้งแต่คลิปหนีบกระดาษเริ่มเคลื่อนที่จนกระทั่งเคลื่อนที่มาสิ้นสุดที่แกนของกังหัน
4. การวิเคราะห์ : ให้นักเรียนวิเคราะห์ร่วมกันภายในกลุ่มจากการทำกิจกรรมที่
1 เรื่อง มหัศจรรย์กับพลังงานน้ำ
5. การสังเคราะห์และสรุป : นักเรียนสรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์ลงในกระดาษฟริปชาร์ต
ขั้นที่
4
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล( 10 นาที )
1.การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน:นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.การประเมินผล:จากผลการทำกิจกรรมและจากการตอบคำถามท้ายกิจกรรม
นักเรียนควรสรุปได้ว่า( แนวคำตอบ เมื่อน้ำไหลลงมาปะทะกับกังหัน
ทำให้กังหันหมุน การหมุนของกังหันทำให้แกนกังหันหมุนตาม ทำให้เส้นด้ายที่ผูกติดอยู่กับแกนกังหัน
หมุนพันรอบแกนกังหัน เมื่อเส้นด้ายหมุนพันรอบแกนไปเรื่อยๆ
ทำให้คลิปหนีบกระดาษขนาดเล็กที่ผูกติดเส้นด้ายไว้ เคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่งไประยะห่างตามแนวดิ่ง
ระหว่างตำแหน่งของน้ำที่ปล่อยลงมากับตำแหน่งของกังหันมีผลต่ออัตราเร็วการหมุนของกังหันและอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ของคลิปหนีบกระดาษ )
5. แบบฝึกหัด/ใบงาน
ผู้เรียนกิจกรรม มหัศจรรย์กับพลังงานน้ำ
6.ผู้เรียนประเมินตนเอง
น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่าเสมอ
และเมื่อน้ำปะทะกับวัตถุใดๆ สามารถทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่หรือหมุนได้ มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานน้ำในด้านต่างๆ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
7.ผู้สอนประเมินผู้เรียน
ผู้สอนประเมินผู้เรียนโดยการประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
ได้แก่ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน
8.การสืบค้นเพิ่มเติม
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
จากเพื่อนที่อยู่ภายในกลุ่ม จากเพื่อนจากกลุ่ม จากครูผู้สอน ห้องสมุด
และจากแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น